นโยบายของนายกเทศมนตรีตำบลทุ่งสะโตก
วิสัยทัศน์
“ชุมชนน่าอยู่ การคมนาคมสะดวก ผนวกการเรียนรู้คู่คุณธรรม นำพาเศรษฐกิจ”
ชุมชนน่าอยู่ การคมนาคมสะดวก ผนวกการเรียนรู้คู่คุณธรรม นำพาเศรษฐกิจ : เป็นชุมชนสังคมชนบทที่ผู้คนประกอบอาชีพภาคเกษตรกรรม มีวิถีชีวิตที่ดำรงไว้ซึ่งประเพณีและวัฒนธรรมอันดีงามของท้องถิ่นที่สืบทอดกันมา ประกอบกับการมีการส่งเสริมการศึกษาที่คู่ไปกับการปลูกฝังการมีจิตใจที่มีคุณธรรมและจริยธรรม เป็นชุมชนที่ผู้คนมีสุขภาพร่างกายแข็งแรง อันเนื่องมาจากการสิ่งแวดล้อมไม่มีมลพิษ และการมีชีวิตที่ดีไม่ยากจน เนื่องจากดำรงชีวิตแบบพออยู่พอกิน ตามแนวทางพระราชดำริ “เศรษฐกิจพอเพียง” และ “เศรษฐกิจชุมชนพึ่งตนเอง”
นโยบายในการพัฒนาจะมุ่งเน้นการพัฒนา 8 ด้าน ประกอบด้วย
1. นโยบายด้านการสาธารณสุข และคุณภาพชีวิต
1.1 จัดสรรงบประมาณด้านการสงเคราะห์ผู้สูงอายุ ผู้ด้อยโอกาส (ผู้ติดเชื้อ –ผู้พิการ) จะต้องได้รับการดูแลอย่างถ้วนหน้า
1.2 กลุ่มสตรีแม่บ้าน สนับสนุนวันสตรีสากลอย่างต่อเนื่อง จัดหาวิทยากรมาให้ความรู้เกี่ยวกับการประกอบอาชีพ ให้มีวิชาชีพที่มั่นคงพร้อมทั้งหาตลาดเพื่อเพิ่มศักยภาพของกลุ่ม โดยการศึกษาดูงานจากหน่วยงานอื่น เพื่อนำมาปรับปรุงใช้ให้มีคุณภาพยิ่งๆ ขึ้นไป
1.3 ส่งเสริมสนับสนุนกิจกรรมของผู้สูงอายุ กลุ่มสตรี แม่บ้าน เยาวชน ผู้ด้อยโอกาส ผู้พิการ กลุ่มประสานใจและกลุ่มฮักทุ่งสะโตก
1.4 พัฒนาศักยภาพกลุ่มอาสาสมัคร เช่น พลังแผ่นดิน / อสม./อสป./อปพร./อ.ช.
1.5 พัฒนาองค์ความรู้ การส่งเสริมและป้องกันโรคติดต้อและไม่ติดต่อของประชาชนและกลุ่มเสี่ยง เช่น โรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูง
โรคหัวใจ โรคหลอดเลือด โรคมะเร็งและโรคไข้หวัด 2009
1.6 สนับสนุนและการพัฒนากองทุนหลักประกันสุขภาพ (สปสช.)ระดับตำบล
1.7 ส่งเสริมการออกกำลังกายของผู้สูงอายุ กลุ่มสตรี เยาวชน ฯลฯ เพื่อเสริมสร้างให้มีสุขภาพแข็งแรงทั้งร่างกายและจิตใจ
1.8 เน้นนโยบาย 6 อ.
- อาหาร - ออกกำลังกาย
- อากาศ - อารมณ์
- อโรคยาปรมาลาภา - อบายมุข
1.9 สนับสนุนให้คนในท้องถิ่น ลด ละ เลิก พฤติกรรมกลุ่มเสี่ยงทางสุขภาพที่เหมาะสมตามช่วงวัย
1.10 สนับสนุนภูมิปัญญาชาวบ้าน (หมอเมือง) และการนวดแผนไทย
1.11 พัฒนาเพิ่มศักยภาพของสมาชิกสภาเทศบาลตำบล ให้ได้รับความรู้ถึงบทบาทหน้าที่อย่างแท้จริง
2.นโยบายด้านการพัฒนาสาธารณูปโภคและโครงสร้างพื้นฐาน
2.1 ก่อสร้าง ปรับปรุงซ่อมแซมถนน เพื่อการขนย้ายพืชผลทางการเกษตร และการสัญจรสะดวกสบายในท้องถิ่น
2.2 พัฒนาระบบอินเตอร์เน็ตภายในตำบลและหมู่บ้าน
2.3 พัฒนาการระบบประปาหมู่บ้านให้มีคุณภาพให้มีน้ำสะอาดและบริสุทธิ์ ถูกหลักอนามัย
2.4 จัดให้มีรางระบายน้ำในหมู่บ้าน ,ตำบล
2.5 ก่อสร้างและพัฒนา ถนนภายในหมู่บ้าน ถนนเชื่อมระหว่างหมู่บ้านและตำบล
2.6 ขยายสะพาน ก่อสร้างสะพาน เชื่อระหว่างหมู่บ้านต่อหมู่บ้าน ตำบลต่อเนื่อง
2.7 ขยายเขตไฟฟ้าพื้นฐาน และการขยายการใช้โทรศัพท์ทุกหมู่บ้านในตำบลทุ่งสะโตก เพื่อความสะดวกในการติดต่อของชุมชน
3.นโยบายด้านการส่งเสริมอาชีพและการเกษตร
3.1 จัดตั้งศูนย์การเรียนรู้ด้านการเกษตรผ่านศูนย์ถ่ายทดเทคโนโลยีการเกษตรประจำตำบลอย่างต่อเนื่อง
3.2 สนับสนุนการทำการเกษตรอินทรีย์และการผสมผสานตามแนวทางเศรษฐกิจพอเพียงเพื่อความเป็นอยู่ที่ดีของชุมชนและลดมลพิษ
3.3 ขยายเขตไฟฟ้าเพื่อการเกษตรในตำบลอย่างทั่วถึง
3.4 ปรับปรุงพัฒนาแหล่งน้ำ ลำเหมือง เพื่อการเกษตรได้ใช้อย่างเพียงพอ
3.5 จัดหาเครื่องตรวจวัดความเป็นกรด – ด่างของดิน เพื่อการเกษตรของตำบล
3.6 ส่งเสริมให้ความรู้ฝึกการประกอบอาชีพให้กับกลุ้มสตรีแม่บ้านผู้สูงอายุให้มีอาชีพและรายได้อย่างยั่งยืน
3.7 ส่งเสรมอุดหนุนการเกษตรแผนไทยให้รู้ถึงคุณค่าทรัพยากรธรรมชาติ
3.8 สนับสนุนสินค้า OTOP . SME ในท้องถิ่นและหาแหล่งตลาดให้กับชุมชน
3.9 พัฒนาชุมชนให้เข้มแข็งอย่างยั่งยืน สนับสนุนร้านค้าวิสาหกิจชุมชน
4. นโยบายด้านการศึกษา ศาสนา วัฒนธรรม
4.1 สนับสนุนส่งเสริมศาสนาทุกศาสนา วัฒนธรรม ประเพณีในท้องถิ่นให้เจริญรุ่งเรืองสืบต่อไป
4.2 พัฒนาส่งเสริมศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก อนุบาล อุปกรณ์การเรียนการเล่นของเด็กตามวัยอย่างต่อเนื่อง พัฒนาบุคลากรให้มีคุณภาพยิ่งๆขึ้นไป แต่งตั้งคณะกรรมการบริหารศูนย์ ตามมาตรฐานของศูนย์พัฒนาเด็กเล็กขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
4.3 ส่งเสริมและสนับสนุนการศึกษาในระบบ/นอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย พัฒนาเยาวชนให้เป็นบุคคล เก่งเรียน รักคุณธรรม นำภูมิปัญญาท้องถิ่นมาปรับใช้ในการดำรงชีวิต
4.4 จัดให้มีห้องสมุดโรงเรียน เพื่อศึกษาข้อมูลและความรู้สู่สากลภูมิทัศน์สิ่งแวดล้อม
4.5 จัดสรรงบประมาณในการดำเนินการกิจกรรมทางศาสนาทุกศาสนา ประเพณี และวัฒนธรรม ลด ละ เลิก อบายมุข
4.6 สนับสนุนส่งเสริมการเรียนรู้คู่คุณธรรมด้านอาชีพ คอมพิวเตอร์ ภูมิปัญญาท้องถิ่น
4.7 เร่งรัดพัฒนาระบบสารสนเทศในทุกๆด้าน เพื่อส่งเสริมสนับสนุนการพัฒนาการศึกษาในทุดระบบเพื่อให้ทับกับโลกปัจจุบัน
4.8 ส่งเสริมประชาธิปไตย ความเสมอภาค สิทธิเสรีภาพของประชาชนและการมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วนอย่างมีระบบ
4.9 จัดสรรงบประมาณช่วยเหลือเด็กที่ขาดโอกาสทางการศึกษา และหาครูวิทยากรในสาขาที่ขาดแคลน
4.10 สนับสนุนให้โรงเรียนเข้มแข็ง สามารถจัดการศึกษาโดยการมีส่วนร่วมของชุมชนและองค์กร พัฒนาให้เยาวชนรู้ถึงคุณธรรมจริยธรรม
4.11 ส่งเสริมการเรียนรู้ระหว่างปิดภาคเรียนให้กับเยาวชนในท้องถิ่นโดยการเชิญอาจารย์พิเศษมาให้ความรู้เพิ่มเติมทางด้านภาษา เช่น ภาษา อังกฤษ ภาษาจีน ฯลฯ
5. นโยบายด้านการแก้ไขปัญหายาเสพติด
5.1 สนับสนุนฝ่ายปกครอง คณะกรรมการหมู่บ้าน ผู้ประสานพลังแผ่นดินตามโครงการหมู่บ้านเข้มแข็งเพื่อเอาชนะยาเสพติดอย่างต่อเนื่อง
5.2 เสริมสร้างความเข้มแข็งของหมู่บ้าน ครอบครัวให้อบอุ่นในการควบคุมป้องกันปัญหายาเสพติดและอบายมุขทั้งปวง เน้นสถาบันครอบครัว เป็นหลัก
5.3 ส่งเสริมสนับสนุนกิจกรรมสภาเด็กและเยาวชน ประชาชนต้านภัยยาเสพติด
6.นโยบายด้านความมั่นคงและปลอดภัย
6.1 พัฒนาศักยภาพ อปพร.จัดให้มีระบบการรักษาความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินของประชาชนและสาธารณะ (วิทยุสื่อสาร) รถประจำศูนย์ อปพร.
6.2 ส่งเสริมและสนับสนุนให้หมู่บ้านมีส่วนร่วมในการป้องกันภัย รู้จัดการดูแลป้องกันตนเอง
6.3 จัดสรรงบประมาณในการดำเนินงานกิจกรรมของศูนย์ป้องกันบรรเทาสาธารณภัย
6.4 รณรงค์ให้ความรู้ต่อประชาชน ตระหนักถึงภัยและอันตรายในทุกๆด้าน
7.นโยบายด้านการพัฒนาและส่งเสริมกีฬา
7.1 จัดสรรงบประมาณสนับสนุน ส่งเสริม กิจกรรมแข่งขันกีฬาต้านภัยยาเสพติดภายในตำบล /นอกตำบล อย่างต่อเนื่อง
7.2 ปรับปรุงสนามกีฬากลางตำบล หมู่บ้าน สถานที่ออกกำลังกายให้ดียิ่งขึ้น
7.3 จัดหาอุปกรณ์กีฬาให้มีอย่างเพียงพอทุกๆปี
7.4 อบรมเพิ่มทักษะการเล่นกีฬา ผู้ตัดสิน ให้มีความรู้อย่างแท้จริง รู้รักสามัคคี
8.นโยบายด้านการจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
8.1 แหล่งน้ำที่ใช้จะต้องไม่มีสารพิษหรือสิ่งเจือปนจากสารอื่น ๆ
8.2 จัดสรรงบประมาณในการบำรุงรักษาลำเหมือง ฝาย ทางระบายน้ำ
8.3 จัดสรรงบประมาณในการแก้ไขปัญหาเรื่องขยะในหมู่บ้าน และตำบล
8.4 สนับสนุน ส่งเสริมกิจกรรมหมู่บ้านในการบริหารจัดการสิ่งแวดล้อมและการใช้ประโยชน์จากทรัพยากรธรรมชาติ
8.5 ส่งเสริมและสนับสนุนกิจกรรมที่ลดภาวะโลกร้อน